JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2011-06-08
จำนวนสมาชิก : 1,612 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-12-21
จำนวนครั้งที่ชม : 4,421,214 ครั้ง
Online : 29 คน

วิธีการยื่นคำร้องทุกข์/ร้องเรียน

2011-07-05 00:28:40 ใน Knowledge Exchange » 0 11378 วิธีการยื่นคำร้องทุกข์/ร้องเรียน
1. แจ้งร้องทุกข์  ด้วยตนเอง ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมเขียนแบบคำร้องทุกข์  (แบบ คร.7)
2.
แจ้งร้องทุกข์/ร้องเรียน ทางโทรศัทพ์
3.
แจ้งร้องทุกข์/ร้องเรียน ทางอินเตอร์เน็ต   ( เว็บไซด์/E-Mail )
1. แจ้งร้องทุกข์  ด้วยตนเอง ที่สำนักงานฯ  พร้อมเขียนแบบคำร้องทุกข์  (แบบ คร.7)

1. ใช้บัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน  ประกอบการยื่นคำร้อง
2.
รู้ชื่อของนายจ้าง, ชื่อสถานประกอบกิจการ, สถานที่ตั้งของที่ทำงานว่าตั้งอยู่เลขที่เท่าไหร่ ตรอก  ซอย  ถนน  ตำบล/แขวง  อำเภอ/เขต  จังหวัด  และ เบอร์โทรศัพท์ 
3.
วันที่ เดือน ปี พ.ศ. ที่เริ่มทำงาน
4.
เรื่องที่นายจ้างทำไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานต่อลูกจ้าง/เกิดเหตุการณ์   
5.
พยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล (ถ้ามี)


 2. แจ้งร้องทุกข์/ร้องเรียน ทางโทรศัทพ์  
1. ชื่อที่อยู่ผู้ร้องเรียน /ร้องทุกข์  และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ  (แจ้งผลการดำเนินการ)
2. ข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์ของเรื่องที่ร้องเรียน/ร้องทุกข์ ได้อย่างชัดเจนว่าได้รับความเดือดร้อน
    หรือเสียหายอย่างไร ต้องการให้แก้ไขดำเนินการอย่างไร เพื่อสามารถสืบสวนสอบสวนได้
3.
รู้ชื่อของนายจ้าง, ชื่อสถานประกอบกิจการ, สถานที่ตั้งของที่ทำงาน
    ตรอก ซอย ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต  จังหวัด และเบอร์โทรศัพท์
4. ระบุพยาน เอกสาร พยายวัตถุ พยายบุคคล(ถ้ามี)

3. แจ้งร้องทุกข์/ร้องเรียนทางอินเตอร์เน็ท เว็บไซต์และอีเมล

เงื่อนไขการร้องทุกข์ร้องเรียน        
กรุณาป้อนข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อที่อยู่ โทรศัพท์ E-mail จะมีประโยชน์ในการสำหรับการติดต่อกลับ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม  หรือเพื่อแจ้งผลการตรวจสอบกรณีเรื่องที่ร้องเรียนให้ท่านทราบ ถ้านท่านไม่ประสงค์ติดต่อกลับ หรือไม่ต้องการทราบผลการตรวจสอบข้อร้องเรียน ก็ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วนแต่จะถือว่าเป็นการแจ้งเบาะแสให้ทราบเท่านั้น


หลักเกณฑ์การร้องทุกข์ร้องเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ท เว็บไซต์และอีเมล

   1. เรื่องที่อาจนำมาร้องทุกข์ร้องเรียนได้ ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหายอันเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน / กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน
  • การไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2)(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551)
  • กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
  • กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  • ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
  • ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินควร
  • อื่นๆ
  2.  เรื่องร้องทุกข์/ร้องเรียน  ต้องเป็นเรื่องที่มีมูลเหตุ มิได้หวังสร้างกระแสหรือสร้างข่าวที่เสียหายแก่บุคคลอื่น
  3.  การใช้บริการร้องทุกข์/ร้องเรียน สำนักงานฯ ต้องสามารถติดต่อกลับไปยังผู้ใช้บริการได้เพื่อยืนยันว่ามีตัวตนจริง และแจ้งผลการดำเนินการได้
  4.  กรณีร้องทุกข์ ร้องเรียนนายจ้าง/สถานประกอบกิจการ  ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน, กฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน,ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง  ผู้ร้องต้องระบุข้อมูลให้ครบถ้วน ดังนี้
  • มี วันเดือน ปี
  • ชื่อสถานประกอบกิจการ  ชื่อนายจ้าง  ที่อยู่  และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อนายจ้าง
  • ข้อเท็จจริง หรือ พฤติการณ์ของเรื่องที่ร้องเรียน/ร้องทุกข์  ได้อย่างชัดเจนว่าได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหายอย่างไร ต้องการให้แก้ไขดำเนินการอย่างไร เพื่อสามารถสืบสวนสอบสวนได้
  • ระบุพยาน เอกสาร พยายวัตถุ พยายบุคคล(ถ้ามี)
  • ถ้าต้องการทราบผลการ ดำเนินการให้ ดำเนินการตาม   ข้อ 3.

การแจ้งควรมีข้อมูลอะไร 
เมื่อพบหรือมีข้อมูลว่ามีการใช้แรงงานอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน    ควรจะต้องทราบรายละเอียดในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. ใคร  หมายถึง  ผู้ที่ให้ข้อมูลแก่เครือข่ายฯ ชื่ออะไร ผู้ที่ประสบกับความเดือดร้อนชื่ออะไร ที่อยู่ปัจจุบัน  โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
  2. ทำอะไร  หมายถึง  แรงงานที่ประสบปัญหานั้นทำงานในกิจการอะไร  เช่น  เย็บผ้า  ทำงานในร้านขายอาหาร  และทำงานมานานกี่เดือน  กี่ปี  เวลาทำงานเริ่มเวลาไหนเลิกเวลาไหน  เป็นต้น
  3. ที่ไหน  หมายถึง  ชื่อ  สถานที่ตั้งของที่ทำงานของแรงงานที่ประสบปัญหา  ว่าตั้งอยู่เลขที่อะไร  ตรอก  ซอย  ถนน  แขวง  เขต  เบอร์โทรศัพท์  ชื่อของนายจ้าง  เป็นต้น
  4. เมื่อไร  หมายถึง  วันที่  เดือน  ปี  พ.ศ.  ที่เริ่มทำงาน / เกิดเหตุการณ์ (กรณีเลิกจ้าง / ถูกกระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดต่อแรงงาน   เช่น  ถูกทำร้ายร่างกาย / ล่วงเกินทางเพศ  เป็นต้น)
  5. อย่างไร  หมายถึง  เรื่องที่นายจ้างทำไม่ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานต่อลูกจ้าง  หากไม่ทราบข้อมูลหรือทราบไม่ครบอาจสอบถามได้จากเครือข่ายฯ ด้วยกันหรือเพื่อนในชมรม  เพื่อนร่วมอาชีพเดียวกัน  เช่นทราบชื่อโรงงานแต่ไม่ทราบว่าตั้งอยู่ที่ไหนอาจสอบถามจากเพื่อนๆ ได้ว่าเคยผ่านหรือรู้จักโรงงานนั้นหรือไม่  โรงงานนั้นอยู่ในเขตอะไร เป็นต้น 

หากทราบข้อมูลไม่ชัดเจน เช่น ไม่ทราบเลขที่ตั้งของโรงงาน หรือโรงงานตั้งอยู่ในเขตอะไร พนักงานตรวจแรงงานก็จะใช้เวลาในการค้นหานานบางครั้งไม่สามารถที่จะไปตรวจสอบได้เนื่องจากข้อมูลไม่ชัดเจน

กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ
ท่านสามารถ Log in เพื่อแสดงความคิดเห็นด้านล่างของบทความ